โรคซึมเศร้า วิธีสังเกตอาการและการดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า (Major Depressive Disorder) เป็นโรคที่ผู้ป่วยไม่ค่อยรู้ตัวว่าตัวเองกำลังเป็นโรคนี้ เมื่อผู้ป่วยไม่รู้ก็ทำให้เกิดการปล่อยปละละเลยจนอาการหนัดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากและเรื้อรังยากแก่การรักษาเยียวยาบางรายอาจถึงขั้นฆ่าตัวตาย อาการของโรคซึมเศร้าคือผู้ป่วยจะมีอาการท้อแท้ รู้สึกสิ้นหวังกับชีวิต เบื่อหน่ายรู้สึกหมดอาลัยตายอยากในชีวิตไม่อยากต่อสู้ดิ้นรนอีกต่อไป เมื่อมีเรื่องเข้ามากระทบจิตใจของผู้ป่วยแม้จะเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อยก็ทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการซึมเศร้าได้มากกว่าคนปกติที่เป็นกันจนคนรอบข้างรู้สึกว่าผู้ป่วยเป็นคนไม่สู้ชีวิต อ่อนแอ จนส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยมากขึ้นไปอีก

คนใกล้ชิดผู้ป่วยโรคซึมเศร้าไม่ว่าจะเป็นแฟน ญาติพี่น้องหรือเพื่อนฝูงควรเข้าใจว่าผู้ป่วยโรคซึมเศร้านั้นจิตใจจะอ่อนแอและมีความผิดปกติทางด้านอารมณ์จนส่งผลทำให้สารเคมีและฮอร์โมนต่างๆในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงจนส่งผลกระทบต่อร่างกายของผู้ป่วย ทั้งนี้ต้นตอสำคัญของโรคซึมเศร้ามาจากพันธุกรรม ในทางการแพทย์เชื่อว่าคนเรามียีน(Gene) ติดตัวมาอยู่แล้ว ถ้าพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ญาติพี่น้องเป็นโรคซึมเศร้าคนๆนั้นจะมีความเป็นไปได้สูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้าเหมือนบรรพบุรุษ อาการหงุดหงิด อารมณ์แปรปรวน เดี๋ยวเศร้าเดี๋ยวสุข บางทีก็ก้าวร้าวโดยคนรอบข้างปรับตัวไม่ทัน ยิ่งถ้าผู้ป่วยอยู่ในวัยรุ่นอาการผิดปกติทางอารมณ์ก็จะแสดงออกมาอย่างชัดเจน

วิธีสังเกตว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าหรือไม่โดยดูจากพฤติกรรมเหล่านี้เช่น ควบคุมอารมณ์ไม่ค่อยได้ ซึมเศร้า หงุดหงิดและก้าวร้าว ไม่ค่อยสนใจสภาพแวดล้อมหรือคนรอบข้าง ไม่ค่อยมีสมาธิในการทำงาน ทำอะไรอืดอาดเชื่องช้า การกินอาหารผิดปกติไม่มากขึ้นก็น้อยลง ไม่ค่อยพักผ่อน ร่างกายอ่อนเพลีย ที่สำคัญคือชอบตำหนิตัวเองและท้ายที่สุดคิดจะหนีไปจากโลกนี้คือพยายามฆ่าตัวตาย ถ้าคุณมีพฤติกรรมเหล่านี้มากกว่าครึ่งและนานต่อเนื่องกันประมาณ 2 สัปดาห์ก็สันนิษฐานได้ว่าคุณเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว

วิธีรักษาโรคซึมเศร้ามีปัจจัยสำคัญ 3 ส่วนด้วยกันคือ การใช้ยาเพื่อปรับสารสื่อประสาทในร่างกายให้สมดุล ต่อมาคือการบำบัดทางจิตให้ผู้ป่วยสามารถควบคุมอารมณ์ได้ดีขึ้นและสุดท้ายคือปัจจัยทางสังคมโดยผู้ป่วยที่กินยาและรับการทำจิตบำบัดแล้วกลับไปใช้ชีวิตในสังคมตามปกติโอกาสที่จะฟื้นฟูกลับมาเป็นปกติได้จะมีโอกาสสูงกว่าคนที่เก็บตัวไม่สุงสิงกับคนอื่น

การกินยารักษาโรคซึมเศร้านั้นแม้ผู้ป่วยจะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ควรกินยาต่อไปอีกระยะหนึ่งอาจจะ 6-12 เดือนเพื่อป้องกันการกลับมาของโรคซึมเศร้าอีก ส่วนการบำบัดทางจิตผู้ป่วยต้องได้รับคำแนะนำจากจิตแพทย์เพื่อหาสาเหตุของโรคซึมเศร้าให้ผู้ป่วยเข้าใจตัวเองและนำไปสู่การแก้ปัญหาที่ตรงจุดเพื่อแก้ไขปมต่างๆที่อยู่ในใจและปรับพฤติกรรมให้ผู้ป่วยสามารถอาศัยอยู่ในโลกแห่งความเป็นจริงได้เหมือนคนทั่วไป

ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยโรคซึมเศร้าควรมีเวลาให้กับผู้ป่วยมากกว่าปกติโดยชวนผู้ป่วยคุยและเปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้ระบายความรู้สึกที่อยู่ในใจออกมา เทคนิคการถามเกริ่นนำเพียงเล็กน้อยแล้วคอยรับฟังการระบายความรู้สึกจากผู้ป่วยออกมาจะมีผลดีต่ออาการของโรคนี้ โรคซึมเศร้าส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้ป่วยเองและคนรอบข้างโดยเฉพาะครอบครัวของผู้ป่วย หากไม่รีบรักษาย่อมทำให้เกิดปัญหากับชีวิตการทำงานตลอดจนคนในครอบครัวได้ บางรายอาจลุกลามจนกลายเป็นปัญหาใหญ่โตถึงขั้นหย่าร้าง ครอบครัวแตกแยกก็เป็นไปได้มาก ทั้งนี้สิ่งสำคัญคือคนในครอบครัวต้องเข้าใจผู้ป่วยและเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิดให้ผู้ป่วยกินยา รับการบำบัดทางจิตและพยายามเข้าสังคมตามปกติ ให้กำลังใจเพื่อให้ผู้ป่วยสามารถกลับมาอยู่กับครอบครัวและใช้ชีวิตได้ตามปกติสุขเหมือนเดิม

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *