ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต

ค่าความดันโลหิตมาตรฐานที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตคนๆนั้นจะเป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือเกิดภาวะความดันโลหิตต่ำคือ 120/80 มิลลิเมตรปรอท นี่คือเกณฑ์มาตรฐานของค่าความดันโลหิตในวัยผู้ใหญ่แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุความดันโลหิตจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากหลอดเลือดมีความยืดหยุ่นน้อยลง

ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิตมีอยู่หลายปัจจัย การที่เรารู้ว่ามีปัจจัยอะไรบ้างที่มีผลต่อความดันโลหิตจะเป็นประโยชน์ในการช่วยควบคุมระดับความดันโลหิตให้อยู่ในเกณฑ์ปกติเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคที่อันตรายหลายๆ โรคเช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ไตวาย อัมพฤกษ์ อัมพาต ภาวะหัวใจวาย หลอดเลือดในสมองแตก กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เป็นต้น

ความดันโลหิตจะสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับปัจจัยเหล่านี้คือ อายุ เพศ ความเครียด การใช้ยาบางชนิด ช่วงเวลาของวัน ความอ้วน การออกกำลังกายและท่าทางในขณะที่กำลังวัดความดันโลหิต สำหรับปัจจัยทางด้านอายุ ความดันโลหิตจะสูงขึ้นตามอายุดังนี้ ทารกแรกเกิด > วัยผู้ใหญ่ > ผู้สูงอายุ ส่วนปัจจัยเรื่องเพศ วัยรุ่นที่มีอายุในช่วงเดียวกันเพศหญิงจะมีความดันโลหิตสูงกว่าเพศชาย ปัจจัยเรื่องความเครียด ความกังวล ความกลัว ความเจ็บปวดจะทำให้ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น การใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการหดตัวของหลอดเลือดจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นแต่ในทางกลับกันการใช้ยาบางชนิดที่มีผลต่อการขยายตัวของหลอดเลือดจะทำให้ความดันโลหิตต่ำลง

นอกจากนี้สำหรับคนๆ เดียวกันในวันเดียวกันแต่คนละช่วงเวลาของวันการวัดความดันโลหิตในตอนเช้าจะได้ค่าที่ต่ำกว่าการวัดความดันโลหิตในช่วงบ่ายและค่าความดันโลหิตจะกลับลดลงอีกในช่วงกลางคืน อีกปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิตคือ การออกกำลังกาย ขณะออกกำลังกายหัวใจจะสูบฉีดโลหิตมากกว่าปกติทำให้ความดันโลหิตสูงกว่าปกติ หากผู้ป่วยเพิ่งออกกำลังกายมาหรือมีอาการเหนื่อยอยู่ควรให้ผู้ป่วยพักประมาณ 20-30 นาทีแล้วค่อยวัดความดันโลหิตจะทำให้ได้ค่าความดันโลหิตที่ถูกต้อง

One Reply to “ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิต”

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *