อาหารสำหรับเด็กอ่อน (Baby Foods)

อาหารเด็กอ่อนเป็นอย่างไร เป็นคำถามสำหรับคุณแม่มือใหม่ที่ต้องหาคำตอบให้ได้อย่างถูกต้องสำหรับเด็กที่เพิ่งคลอดออกมาอายุยังไม่ถึง 6 เดือนเด็กจะมีความเคยชินกับนมแม่แต่เพียงอย่างเดียวเท่านั้นเพราะร่างกายของเด็กจะมีช่องว่างระหว่างลำไส้มากและยังไม่มีความแข็งแรงเพียงพอ ดังนั้นหากได้รับสิ่งแปลกปลอมอย่างอื่นเข้าไปนอกเหนือจากนมแม่แล้วอาจทำให้เกิดปัญหากับระบบทางเดินอาหารของเด็กอ่อนได้

 ระบบทางเดินอาหารของเด็กอ่อนยังต้องใช้เวลาในการปรับตัวหรือทำความคุ้นเคยกับสิ่งใหม่ๆที่จะเข้ามาอยู่ในระบบทางเดินอาหารที่นอกเหนือจากน้ำนมแม่ ดังนั้นการเริ่มให้อาหารแก่เด็กอ่อนจึงต้องเริ่มจากการให้อาหารทีละน้อยเพื่อสร้างความเคยชินให้กับระบบทางเดินอาหารของเด็ก เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งจึงค่อยๆเพิ่มปริมาณอาหารและเพิ่มชนิดของอาหารต่างๆให้มากขึ้นเมื่อเด็กเริ่มรู้สึกคุ้นเคยกับอาหารแล้ว

เวลาในการเตรียมอาหารสำหรับเด็กอ่อน คุณแม่บางคนอาจจะเกร็งกับการเริ่มทำอาหารให้ลูกจึงอาจใช้เวลานานเกินไปหรือจัดทำเป็นพิเศษซึ่งความจริงไม่ควรเป็นเช่นนั้น อาหารเด็กอ่อนควรเป็นอาหารทั่วไปที่บ้านเรากินกันและเวลาที่ใช้เตรียมอาหารสำหรับเด็กอ่อนนั้นไม่ควรนานเกินไปเพราะอาหารที่เราทำสำหรับเด็กอ่อนนั้นจะมีปริมาณน้อยเมื่อเด็กรู้สึกคุ้นเคยกับอาหารแล้วจึงค่อยเพิ่มปริมาณอาหารมากขึ้น ดังนั้นอาหารเด็กอ่อนควรเตรียมจากอาหารที่กินภายในบ้านทั่วไปเช่น หมูบด ไข่ต้ม มันบด เต้าหู้ขาว ฯลฯ รายการอาหารที่กล่าวมาเหล่านี้เป็นอาหารที่คนในบ้านทุกคนกินได้และเด็กอ่อนก็กินได้เช่นกัน ดังนั้นไม่ควรสิ้นเปลืองและเสียเวลากับอาหารสำหรับเด็กอ่อนมากเกินไป

ชนิดของอาหารที่ลูกชอบ ควรควรสังเกตว่าอาหารชนิดไหนที่ลูกชอบมากกว่าชนิดอื่นๆ อาหารชนิดไหนที่ลูกไม่กินเลย อย่าพยายามบังคับให้ลูกกินอาหารที่ไม่ชอบโดยนึกถึงใจเขาใจเราโดยทดลองและจดจำว่าลูกสนใจอาหารชนิดใดเป็นพิเศษแล้วทำตามปรกติเหมือนอาหารทั่วไปจะมีข้อแตกต่างก็ในเรื่องของความละเอียดของอาหารและพยายามอย่าให้ลูกคุณติดหวานก็พอ โดยทั่วไปอาหารที่คนในบ้านกินได้ลูกคุณก็สามารถกินได้เป็นการประหยัดไปในตัวด้วย

 เวลาเริ่มให้อาหารสำหรับเด็กอ่อน โดยทั่วไปจะเริ่มเมื่อเด็กมีอายุประมาณ 5 เดือนแต่ก็ไม่ได้เป็นเกณฑ์ตายตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมทางด้านร่ายกายของลูกคุณเป็นสำคัญ เมื่อเริ่มให้อาหารใหม่ๆ ลูกคุณอาจคายทิ้งหมดถ้าเป็นเช่นนั้นอย่าพยายามฝืนให้ลูกกินให้เว้นระยะประมาณ 1  อาทิตย์แล้วค่อยลองให้ลูกกินอาหารใหม่อาจลองเปลี่ยนชนิดอาหารไปด้วยก็ได้หากลูกไม่ชอบอาหารชนิดนี้ก็อาจลองป้อนอาหารชนิดอื่นให้ลูกที่สำคัญคืออย่าใจร้อนจนเกินไปให้ทำอย่างค่อยเป็นค่อยไปและอย่าบังคับลูกเป็นอันขาด

อาหารสำหรับเด็กอ่อนจะเริ่มจากอาหารเหลวเช่นข้าวตุ๋นแล้วค่อยๆเปลี่ยนเป็นข้าวต้มเมื่อเด็กโตขึ้นประมาณอายุ 7-8 เดือน เมื่อเด็กอายุหนึ่งขวบก็จะสามารถกินข้าวสวยเหมือนผู้ใหญ่ได้ อย่าลืมว่าเด็กแต่ละคนมีพัฒนาการที่แตกต่างกัน ดังนั้นความรักความเอาใจใส่และการรู้จักสังเกตของคุณจะทำให้การจัดการเรื่องอาหารสำหรับเด็กอ่อนให้ลูกของคุณจะกลายเป็นเรื่องง่ายไปเลยทีเดียว

อาหารหลักของวัยทารกคืออะไร “นมแม่” จะเป็นอาหารสำหรับเด็กอายุตั้งแรกเกิดจนถึง 6 เดือนและเป็นอาหารหลักด้วยเพราะนมแม่จะมีสารอาหารที่ครบถ้วนอยู่แล้วอีกทั้งในน้ำนมแม่จะมีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มากถึง 80 % ทำให้เด็กทารกไม่ต้องกินน้ำเลยก็ได้ การให้เด็กทารกกินนมแม่จากเต้ายังทำให้เกิดความผูกพันระหว่างแม่กับลูกอีกด้วย ในน้ำนมแม่จะช่วยสร้างภูมิคุ้มกันและการดูดนมแม่จะช่วยกระตุ้นสมองเด็กทารกได้เป็นอย่างดี อาหารหลักของวัยทารกจึงเป็น “น้ำนมแม่” อีกทั้ง สารอาหารในน้ำนมแม่ที่เป็นอาหารหลักนั้นประกอบไปด้วยโปรตีนและไขมันที่ช่วยลดภาวะการติดเชื้อ ลำไส้อักเสบ ปอดอักเสบ เยื่อหุ้มสมองอักเสบได้อีกด้วย

อาหารประเภทใดเหมาะสมกับวัยทารกมากที่สุด หลังจาก 6 เดือนที่ทารกกินนมแม่ที่เป็นอาหารที่เหมาะกับวัยทารกมากที่สุดแล้ว ต่อไปจะเป็นช่วงที่ทารกจะต้องหย่านมจึงต้องเริ่มฝึกให้ทารกรู้จักการบดเคี้ยวโดยเริ่มฝึกให้กินอาหารบดที่ต้องระวังคืออาหารสำหรับเด็กทารกอย่าเติมสารปรุงรสไม่ว่าจะเป็นเกลือ น้ำตาล เพราะจะฝึกให้เด็กติดเค็ม ติดหวาน ในช่วงกำลังจะหย่านมนี้สามารถให้เด็กกินนมแม่ไปพร้อมกับการให้อาหารบดได้

ลูกอายุ 1 ขวบกินข้าวเม็ดได้ยัง คุณแม่จำนวนไม่น้อยที่พบปัญหาลูก 1 ขวบไม่ยอมกินอาหารหยาบ โดยทั่วไปเมื่อเด็กอายุประมาณ 7 เดือนก็เริ่มจะมีฟันขึ้นเป็นช่วงที่ควรเริ่มฝึกให้เด็กกินอาหารที่ต้องใช้ฟันบดเคี้ยวแล้ว ซึ่งการฝึกนี้จะทำให้เกิดการพัฒนาทักษะไปเรื่อยๆ จนอายุเข้า 1 ปีเด็กก็จะสามารถกินอาหารได้เหมือนผู้ใหญ่ ปัญหาที่พบคือเด็กจะไม่ยอมกินข้าวหรืออาหารหยาบแต่จะชอบกินอาหารเหลวโดยเมื่อป้อนอาหารเด็กก็จะอมไว้ในปากโดยไม่ยอมเคี้ยวหรือกลืนซึ่งปัญหานี้เกิดจากการไม่ฝึกให้เด็กเริ่มกินอาหารตามวัยมาตั้งแต่ต้น ดังนั้นจึงต้องแก้ปัญหาด้วยการเริ่มฝึกอย่างจริงจังโดยสร้างบรรยากาศในการกินเคี้ยวให้เด็กรู้สึกสนุกกับการเคี้ยว อย่าบังคับฝืนใจเด็ก ให้ค่อยๆ ปรับลดอาหารเหลวลงและเพิ่มอาหารหยาบขึ้นเรื่อยๆ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *