โรคต้อกระจก (Cataract) อาการต้อกระจกและการผ่าตัดต้อกระจก

โรคต้อกระจกทำให้การมองเห็นของผู้ป่วยค่อยๆ ลดลงตามอาการต้อกระจกที่ค่อยๆเป็นมากขึ้น ระยะต่างๆของโรคต้อกระจกจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ จนเลนส์ตาขุ่นมากขึ้นทำให้การมองเห็นลดลงอย่างมากจนผู้ป่วยไม่อาจใช้ชีวิตได้ตามปกติ การรักษาโรคต้อกระจกจะมีหลายวิธีผ่าตัดต้อกระจกตามระยะของโรคแต่ถ้าจะพูดให้ถูกแล้วการรักษาต้อกระจกในระยะแรกจะเป็นการประคองอาการมากกว่าการรักษาให้หายขาดเนื่องจากวิธีรักษาให้หายขาดได้นั้นมีเพียงการผ่าตัดต้อกระจกเพื่อเปลี่ยนเลนส์ตาเท่านั้น

เมื่อเริ่มเป็นโรคต้อกระจกอาการในระยะแรกจะเป็นเพียงการมองเห็นสิ่งต่างๆไม่ชัด การรักษาในระยะนี้จึงมักได้รับคำแนะนำให้ใช้แว่นสายตาช่วยซึ่งจะสามารถประคองอาการไปได้ระยะหนึ่งจนแว่นสายตาไม่อาจช่วยอะไรได้อีกเพราะเลนส์ตาขุ่นมัว การชะลออาการต้อกระจกอีกวิธีหนึ่งที่นิยมใช้กันคือการใช้ยาหยอดตาซึ่งเป็นอีกวิธีหนึ่งที่ช่วยชะลอให้เลนส์ตาขุ่นช้าลง

เมื่ออาการต้อกระจกเป็นมากขึ้นเรื่อยๆ สุดท้ายก็ต้องรักษาด้วยการผ่าตัดต้อกระจก การผ่าตัดต้อกระจกคือการผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนเลนส์ตาโดยเอาเลนส์เดิมที่ขุ่นมัวออกแล้วใส่เลนส์แก้วตาเทียมแทนที่เข้าไป ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจนการผ่าตัดเลนส์ตามีความปลอดภัยมากขึ้น การผ่าตัดต้อกระจกเป็นการใช้มีดขนาดเล็ก (2-3 มิลลิเมตร) เจาะเข้าไปเพื่อเปิดฝาถุงหุ้มเลนส์ออก แล้วใช้คลื่นความถี่เสียงทำลายต้อกระจกให้เป็นชิ้นเล็กๆ แล้วจึงดูดออกมาทำให้แผลจากการผ่าตัดต้อกระจกมีขนาดเล็กและมีความปลอดภัยสูงกว่าในอดีตที่ต้องเอาเลนส์ตาอันเก่าออกมาทั้งอันทำให้เกิดแผลที่ใหญ่กว่าแล้วจึงใส่เลนส์ตาเทียมอันใหม่แทนที่เลนส์ตาอันเก่าที่ถูกดูดออกมา เมื่อการแพทย์พัฒนาขึ้นปัจจุบันจึงใช้เลเซอร์แทนใบมีดทำให้มีความแม่นยำในการกำหนดตำแหน่งที่จะผ่าตัดได้ดีกว่าแบบที่ใช้ใบมีด แผลที่เกิดจากการผ่าตัดจึงเรียบและสมานตัวได้เร็วกว่า หลังจากผ่าตัดต้อกระจกแล้ว แพทย์จะนัดผู้ป่วยเพื่อมาตรวจดูอาการและแผลจากการผ่าตัดเพื่อติดตามผลการรักษา พอเวลาผ่านไปประมาณ 1-2 อาทิตย์ ผู้ป่วยจะค่อยๆมองเห็นดีขึ้นจนกระทั่งกลับมามองเห็นได้ตามปกติ

อย่างไรก็ดีการป้องกันโรคต้อกระจกสามารถทำได้โดยการรู้จักดูแลถนอมดวงตา เมื่อต้องทำงานที่ใช้สายตามากๆต้องมีระยะเวลาสำหรับพักสายตาบ้าง รวมทั้งการจัดแสงสว่าง ระยะการมองเห็นให้เหมาะสมในสถานที่ทำงาน หากต้องออกกลางแจ้งที่มีแดดจ้าควรสวมแว่นกันแดดและหลีกเลี่ยงการมองดวงอาทิตย์หรือสิ่งที่มีแสงสว่างมากๆโดยตรง คนที่มีโรคประจำตัวโดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานต้องระวังเป็นพิเศษเพราะโรคเบาหวานอาจลุกลามขึ้นตาได้ การพักผ่อนให้เพียงพอจะทำให้สายตาได้พักไปด้วยตลอดจนรู้จักเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์และบำรุงสายตาเช่น ฟักทอง มะเขือเทศ แครอท ผักใบเขียว ตับสัตว์ นมและปลา ฯลฯ  สุดท้ายควรได้รับการตรวจสายตาโดยจักษุแพทย์อย่างน้อยปีละครั้งเพื่อป้องกันและทำให้รู้ตัวแต่เนิ่นๆหากมีความผิดปกติเกี่ยวกับสายตา รู้จักป้องกันไว้ดีกว่าตามแก้ไขทีหลังเมื่อเป็นต้อกระจกแล้ว

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *