โรคอ้วน (Obesity) หรือความอ้วนเป็นจุดเริ่มของโรคอันตรายร้ายแรงอื่นๆอีกหลายโรค การที่ร่างกายมีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์ปกติเนื่องจากการกินอาหารเข้าไปแล้วร่างกายใช้ไม่หมดจึงต้องสะสมเป็นไขมันส่วนเกินตามส่วนต่างๆ ของร่างกายโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้อง เมื่อไขมันสะสมเพิ่มขึ้นมาเรื่อยๆจนกลายเป็นสาเหตุของโรคร้ายอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน ฯลฯ
ความอ้วนคือเส้นทางที่จะนำไปสู่โรคร้ายหลายๆ โรค เนื่องจากระบบการเผาผลาญอาหารเพื่อนำพลังงานไปใช้และระบบฮอร์โมนในร่างกายของคนอ้วนจะทำงานได้ไม่ดี เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน (โรคเบาหวาน) หากคุณมีปัญหาเกี่ยวกับโรคอ้วนแล้วทำให้มีส่วนเฉียดใกล้โรคร้ายแรงหรือไม่ก็ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาเมื่อต้องทำการดูแลรักษาสุขภาพโดยการควบคุมอาหารจะทำให้รู้สึกว่าคุณภาพชีวิตของตัวเองลดลง
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคอ้วนมี 2 สาเหตุคือ
1. สาเหตุจากปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้เช่น กรรมพันธุ์ อายุ เพศ ฯลฯ หากมีพ่อแม่ที่อ้วนทั้งคู่ โอกาสของลูกที่เกิดมาแล้วจะอ้วนมีถึง 80 เปอร์เซ็นต์ อุปนิสัยในการกินอาหารโดยทั่วไปแล้วผู้หญิงจะกินจุบกินจิบใช้พลังงานน้อยกว่าผู้ชายทำให้ผู้หญิงมีโอกาสอ้วนได้ง่ายกว่า เมื่อแก่ตัวลงไปการเคลื่อนไหวของร่างกายจะช้าลงตามธรรมชาติทำให้ใช้พลังงานน้อยลงจึงทำให้ไขมันสะสมในร่างกายมากขึ้น
2. สาเหตุของโรคอ้วนที่เกิดจากปัจจัยที่ควบคุมได้เช่นพฤติกรรมการกินอาหารที่เคยชินแต่การกินอาหารสำเร็จรูปหรืออาหารกินด่วน (Fast Food) ที่มีเกลือ ไขมัน แป้งในปริมาณมากทำให้มีความเสี่ยงต่อโรคอ้วนสูงขึ้น ปัจจัยทางด้านอารมณ์เช่นความเครียดก็มีส่วนทำให้อ้วนคือยิ่งเครียดยิ่งกินแถมยังกินมากกว่าธรรมดาเสียด้วยซ้ำ ปัจจัยทางด้านมีเครื่องไม้เครื่องมือหรือสิ่งอำนวยความสะดวกอยู่ใกล้มือทำให้มีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยลงจึงทำให้ใช้พลังงานน้อยลงพลังงานที่เหลือจึงถูกสะสมอยู่ในร่างกายทำให้เป็นโรคอ้วนได้ อีกปัจจัยหนึ่งคือการนอนไม่เพียงพอทำให้ระบบฮอร์โมนในร่างกายแปรปรวนทำให้เกิดการหิวและกินมากขึ้น
ปัญหาสุขภาพส่วนมากจะมีจุดเริ่มมาจากความอ้วนทั้งสิ้น ต่อจากนั้นจะตามมาด้วยโรคอื่นๆทั้งที่ร้ายแรงและไม่ร้ายแรง เราควรหันมาใส่ใจและดูแลสุขภาพไม่ให้เกิดโรคอ้วนด้วยการควบคุมสาเหตุที่ทำให้อ้วนที่สามารถควบคุมได้เช่น ปรับพฤติกรรมการกินอาหาร ควบคุมอาหาร ออกกำลังกาย ลดน้ำหนัก พักผ่อนให้เพียงพอและไม่เครียด ฯลฯ เพียงแค่นี้ก็จะเป็นเกราะป้องกันไม่ให้โรคอ้วน (Obesity) เข้ามาก่อปัญหาสุขภาพใดๆ กับคุณได้อีกต่อไป
อ้วนแบบไหน อันตราย ความอ้วนมีหลายชนิดเช่น อ้วนที่เกิดจากการสะสมภายใน อ้วนลงพุง อ้วนทั้งตัว ความอ้วนแต่ละแบบก็มีอันตรายมาก-น้อยแตกต่างกันไป อ้วนลงพุงเป็นความอ้วนที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคอันตรายต่างๆ เช่น เบาหวาน ความดันสูง ไขมันในเลือดสูง โรคหัวใจและหลอดเลือด ความอ้วนชนิดนี้จะมีไขมันสะสมอยู่บริเวณหน้าท้องที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งบางชนิดอีกด้วย ส่วนอ้วนแบบภายในจะมีการสะสมไขมันบริเวณตับอ่อน หัวใจ ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของการทำงานอวัยวะภายในร่างกายลดลงและเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบการเผาผลาญของร่างกายและโรคหัวใจ อ้วนทั้งตัวจะมีลักษณะการสะสมไขมันทั่วร่างกาย ในเรื่องของความอันตรายของอ้วนทั้งตัวแม้จะน้อยกว่าความอ้วนแบบอื่นๆ แต่ก็เสี่ยงต่อการทำให้เกิดโรคเรื้อรังได้
การวัดระดับความอ้วนทำได้หลายวิธียกตัวอย่างเช่น ดัชนีมวลกาย(BMI) โดยใช้ค่าที่คำนวนได้จากค่าส่วนสูงและน้ำหนักของแต่ละบุคคล เป็นการบอกว่าคุณมีความอ้วนอยู่ในเกณฑ์ใดแต่จะไม่ได้บอกถึงลักษณะการกระจายของไขมันในร่างกาย การวัดเส้นรอบเอว(Waist Circumference) วิธีนี้เหมาะกับการประเมินความอ้วนแบบลงพุง อัตราส่วนเอวต่อสะโพก(Waist-to-Hip ratio) เหมาะกับการวัดความอ้วนแบบมีการกระจายไขมันในร่างกาย นอกจากนี้ยังมีการวัดไขมันโดยโดยวิธีพิเศษด้วยเครื่องมือเช่น DEXA scan, bioelectrical impedance analysis (BIA) เป็นต้น
อะไรที่ทำให้เราอ้วน ความอ้วนมีความซับซ้อนและเกิดจากปัจจัยหลายๆ ด้านทั้ง ปัจจัยด้านสุขภาพ พันธุกรรม พฤติกรรมการดำเนินชีวิตประจำวันและปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม ด้านพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันเช่น พฤติกรรมการกินอาหารที่มักกินอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงและปริมาณอาหารที่กินมากเกินไปอีกทั้งพฤติกรรมการกินอาหารแบบกินจุกกินจิกหรือการกินอาหารระหว่างมื้อ(อาหารว่าง) บ่อยเกินไป ปัจจัยด้านพันธุกรรมหากมีคนในครอบครัวเป็นโรคอ้วนก็จะมีแนวโน้มอ้วนง่าย พฤติกรรมที่ไม่ชอบออกกำลังกาย ทำน้อยหรือไม่ทำเลยและมักจะนั่งทำงาน ดูทีวี เล่นเกมส์ติดต่อกันเป็นเวลานานก็เป็นปัจจัยด้านพฤติกรรมที่ทำให้อ้วนได้ ปัจจัยด้านปัญหาสุขภาพและการใช้ยาบางชนิด สำหรับคนที่มีโรคประจำตัวและต้องใช้ยาบางชนิดอาจส่งผลทำให้อ้วนได้เช่นกัน
โรคอ้วนลงพุงมีสาเหตุหลักมาจากอะไร โรคอ้วนลงพุง (Central Obesity หรือ Abdominal Obesity) มีสาเหตุหลักมาจากหลายปัจจัยซึ่งรวมถึงปัจจัยทาง พันธุกรรม พฤติกรรมและสิ่งแวดล้อม เช่น พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงเช่นอาหารแปรรูป น้ำอัดลม อาหารที่ทอดด้วยน้ำมัน ฯลฯ ปัจจัยด้านพันธุกรรม ปัจจัยด้านพฤติกรรมที่ไม่ค่อยออกกำลังกายหรือไม่คิดจะออกกำลังกายเลย การนอนน้อยหรือพักผ่อนที่ไม่เพียงพอก็เป็นสาเหตุของโรคอ้วนได้ ปัจจัยด้านสังคมในการทำงานอาจเกิดความเครียดและมีคนจำนวนไม่น้อยที่หาทางออกด้วยการกินอาหารที่ชอบเพื่อทำให้ความรู้สึกดีขึ้นซึ่งนั่นเป็นพฤติกรรมที่ทำให้เกิดโรคอ้วนนั่น่เอง ปัจจัยทางด้านสุขภาพที่เกี่ยวกับการใช้ยาบางชนิดและมีโรคประจำตัวที่ทำให้กระบวนการเผาผลาญอาหารในร่างกายผิดปกติเช่น โรคเบาหวาน โรคไทรอยด์ ซึ่งการป้องกันและรักษาโรคอ้วนทำได้โดยการแก้ไขที่สาเหตุของโรคส่วนมากจะเป็นการปรับพฤติกรรมการกินที่ทำให้อ้วนและปรับพฤติกรรมการออกกำลังกายจะทำมาก-น้อยก็ค่อยๆ ปรับตัวแต่ที่สำคัญคือต้องทำสม่ำเสมอและการพักผ่อนให้เพียงพอ