Insomnia คือโรคนอนไม่หลับ อาการนอนไม่หลับหรือหลับยากเป็นอาการที่เกิดขึ้นและพบได้พร้อมกับโรคอื่นๆอีกหลายชนิด ลักษณะของการนอนไม่หลับอาจจะเกิดขึ้นได้หลายลักษณะคือ อาการหลับยากเป็นอาการที่ต้องใช้เวลานานกว่าปกติในการเข้านอนจนกว่าจะนอนหลับได้จริง เมื่อนอนหลับไปสักระยะหนึ่งแล้วอาจจะรู้สึกตัวขึ้นมาแล้วก็นอนต่อไม่ได้(นอนไม่หลับ) บางลักษณะอาจจะเข้านอนเร็วนอนหลับยากแล้วยังตื่นเร็วกว่าปกติก็เป็นอาการของโรคนอนไม่หลับเช่นกัน
Insomnia หรืออาการนอนไม่หลับอีกลักษณะคือการนอนในคืนหนึ่งๆ จะหลับๆ ตื่นๆ อยู่เป็นระยะๆ ทำให้พักผ่อนไม่เพียงพอ ทั้งๆ ที่ความต้องการจริงๆ คืออยากนอนให้หลับแต่เมื่อเริ่มนอนก็ใช้เวลานานกว่าที่คนปกติเขาใช้กัน กว่าจะหลับได้ก็นานกว่าครึ่งชั่วโมง พอนอนหลับแล้วแทนที่จะหลับยาวไปจนถึงเช้าก็ต้องตื่นขึ้นมาในระหว่างการนอนเป็นระยะ ๆ
Adjustment Insomnia คืออาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงการใช้ชีวิตประจำวันที่ต้องมีการปรับตัวรับมือกับสถานการณ์บางอย่างเช่น สำหรับเด็กๆ
หากพรุ่งนี้เป็นวันเปิดเทอมหรือต้องมีการแข่งกีฬานัดสำคัญ สำหรับผู้ใหญ่อาจเป็นการนัดหมายเจรจาเรื่องงานที่สำคัญ ทำให้เกิดอาการหลับยาก หลับๆ ตื่นๆ อาการแบบนี้มักเกิดจากความเครียดหรือความตื่นเต้นกับเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในวันรุ่งขึ้น แต่เมื่อเหตุการณ์สำคัญนั้นๆ ผ่านพ้นไปแล้วการนอนหลับก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
Chronic Insomnia คืออาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง ซึ่งมักจะมีความสัมพันธ์กับการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและจิตใจหรืออาจเป็นผลจากการใช้ยารักษาโรคทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับซึ่งหากเกิดอาการต่อเนื่องเป็นระยะเวลามากกว่า 1 เดือนก็ถือว่าเป็นอาการนอนไม่หลับแบบเรื้อรัง
โรคนอนไม่หลับนี้ คนที่มีอาการไม่ใช่ว่าไม่อยากนอนแต่เป็นเพราะมีสิ่งรบกวนที่ส่งผลกระทบอาจจะทางร่างกายเช่นภาวะเจ็บป่วยเรื้อรัง หรือจิตใจเช่น ความเครียด ความตื่นเต้น ความกังวลที่ทำให้เกิดเป็นโรคนอนไม่หลับ ผลกระทบจากโรคนอนไม่หลับที่ชัดเจนที่สุดคือทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย หงุดหงิดง่าย ไม่มีสมาธิซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปสู่การทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพเพราะคนที่นอนพักผ่อนไม่เพียงพอสมองจะเบลอๆ คิดและตัดสินใจอะไรช้าอีกทั้งตัดสินใจผิดพลาดได้ง่ายเป็นลักษณะของอาการของคนพักผ่อนไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดข้อบกพร่องและผิดพลาดทั้งในการใช้ชีวิตประจำวันและการทำงานเป็นอย่างมาก
Insomnia เกิดจากอะไร Insomnia คือโรคนอนไม่หลับสาเหตุของโรคนอนไม่หลับเกิดจากหลายปัจจัยทั้งปัจจัยทางกายภาพ ปัจจัยทางด้านจิตใจและสภาพแวดล้อมตอนนอน อาการอยากนอนแต่นอนไม่หลับอาจเกิดจากปัญหาทางด้านสุขภาพ การมีโรคประจำตัวหรือมีการเจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ภาวะความดันโลหิตสูง โรคกรดไหลย้อน โรคปวดข้อ-กระดูก โรคหอบหืด ฯลฯ โรคเหล่านี้เป็นปัจจัยทางกายภาพที่รบกวนการนอนทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับกระสับกระส่ายได้ ปัจจัยทางด้านจิตใจอาจทำให้นอนไม่หลับ สมองไม่หยุดคิดซึ่งเมื่ออยากนอนแต่นอนไม่หลับเพราะสมองไม่หยุดคิดเป็นปัจจัยทางด้านจิตใจที่อาจเกิดจากความเครียดจากการทำงาน เครียดเรื่องครอบครัวหรือสถานการณ์ต่างๆในชีวิตทำให้ซึมเศร้า วิตกกังวลทำให้นอนไม่หลับกระสับกระส่าย การนอนไม่หลับที่มีสาเหตุจากสภาพแวดล้อมตอนนอนและพฤติกรรมการนอน ในห้องนอนอาจมีสิ่งรบกวนต่างๆ เช่น แสงสว่าง เสียงรบกวนการนอน อุณหภูมิในห้องนอนร้อน-เย็นเกินไป รวมถึงพฤติกรรมก่อนนอนเช่นการใช้โทรศัพท์มือถือหรือนอนกลางวันมากไป อีกทั้งการใช้ยาบางชนิดหรือสารกระตุ้นจำพวก นิโคติน(บุหรี่) คาเฟอีน(ชา-กาแฟ) ก็รบกวนการนอนได้เช่นกัน ทั้งหมดนี้ส้วนเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับซึ่งการนอนไม่หลับสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในระยะสั้น (ชั่วคราว) หรือในระยะยาว (เรื้อรัง) ขึ้นอยู่กับสาเหตุและการจัดการของปัญหานั้นๆ
เครียดนอนไม่หลับวิธีแก้ เมื่อเกิดอาการอยากนอนแต่นอนไม่หลับควรแก้ให้ตรงจุดโดยเริ่มจากแก้อาการนอนไม่หลับแบบธรรมชาติ(ไม่ต้องใช้ยา) โดยการปรับพฤติกรรม ดูแลสุขภาพร่างกาย ควบคุมอาการโรคประจำตัวให้นิ่ง ปรับสภาพแวดล้อมตอนนอนให้เหมาะสม ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมไม่งีบหลับกลางวันโดยเฉพาะช่วงเย็น พยายามเข้านอนและตื่นนอนให้เป็นเวลาประจำ ก่อนนอนไม่ควรเล่นมือถือหรือเปิดทีวีทิ้งไว้จนหลับ หลีกเลี่ยงการบริโภคหรือใช้สารกระตุ้นเช่น ชา กาแฟ บุหรี่ แอลกอฮอลล์ก่อนนอน ทำกิจกรรมคลายเครียดเบาๆ ก่อนนอนเช่น อ่านหนังสือ ฟังเพลง สวดมนต์ นั่งสมาธิ ปล่อยวางเรื่องงานที่ทำให้เครียด การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและการสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสามารถช่วยลดอาการนอนไม่หลับได้มาก หากมีเกี่ยวกับการนอนมากควรขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญเพื่อการรักษาที่เหมาะสม
กินอะไรช่วยให้นอนหลับ เมื่อเกิดอาการนอนไม่หลับสมองไม่หยุดคิด อยากนอนแต่นอนไม่หลับกระสับกระส่ายอาจใช้วิธีแก้อาการนอนไม่หลับแบบธรรมขาติด้วยการบริโภคอาหารบางชนิดที่ช่วยส่งเสริมการนอนหลับได้ดีขึ้น อาหารบางประเภทที่ช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้นเช่น นมอุ่นๆ สักแก้วก่อนนอนจะมีสารอาหารที่ชื่อทริปโตเฟนที่เพิ่มการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินที่ช่วยทำให้นอนหลับได้ง่ายขึ้น มีอาหารและผลไม้ที่ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้นได้แก่ ข้าวโอ๊ต ปลาแซลมอน กล้วย ถั่วอัลมอนด์ เชอร์รี่ โยเกิร์ต เมล็ดฟักทอง น้ำผึ้ง ชาคาโมมายล์ เป็นต้น การบริโภคอาหารและผลไม้เหล่านี้ในปริมาณที่เหมาะสมและหลีกเลี่ยงอาหารที่มีคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์ก่อนนอนจะช่วยให้คุณนอนหลับได้ดีขึ้น