ความดันโลหิตที่ผิดปกติเตือนอะไร

ทำไมต้องวัดความดันโลหิต ก็เพราะค่าความดันโลหิตจะเป็นตัวบอกว่าร่างกายเริ่มมีความผิดปกติหรือยัง ค่าความดันปกติของคนเราจะอยู่ที่ค่าหนึ่ง แต่เมื่อร่างกายมีความผิดปกติร่างกายจะส่งสัญญาณให้ทราบผ่านค่าความดันโลหิตที่ผิดปกติซึ่งเป็นข้อมูลเบื้องต้นหรือเป็นสัญญาณเตือนอันดับต้นๆ ให้เราทำการหาสาเหตุของค่าความดันเลือดที่ผิดปกตินั้น

ความผิดปกติของความดันเลือด ค่าความดันโลหิตที่ว่าผิดไปจากปกตินั้นเป็นไปได้ทั้งสองทิศทางคือทั้งบวกและลบ นั่นคือความดันโลหิตสูง(Hypertension) กับความดันโลหิตต่ำ(Hypotension) ซึ่งมีเกณฑ์ปกติของความดันโลหิตเป็นตัวกำหนด แม้ว่าปัญหาสุขภาพที่ทำให้เกิดโรคร้ายต่างๆ ส่วนมากจะเกิดตรวจวัดความดันโลหิตสูงจากความดันโลหิตสูงแต่ก็ไม่ควรมองข้ามอันตรายของความดันโลหิตต่ำที่มีความร้ายแรงไม่แพ้กันที่อาจทำอันตรายให้ถึงกับเสียชีวิตได้เช่นกัน

ตัวอย่างสัญญาณบอกเหตุจากความดันโลหิตที่ผิดปกติเช่น เมื่อวัดค่าความดันโลหิตได้สูงกว่าเกณฑ์ปกติ(วัดหลายครั้ง) ก็ต้องมาพิจารณาหาสาเหตุว่าเกิดจากอะไร ปัจจัยที่มีผลต่อความดันโลหิตมีอยู่หลายปัจจัย จำเป็นต้องค่อยๆ พิจารณาเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงตัวอย่างเช่น ความดันโลหิตสูงเกิดจากปัจจัยพฤติกรรมการกิน(ตามใจปาก) การอดนอนหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ การใช้ยาบางชนิดและที่นิยมเป็นกันมากในสภาพสังคมปัจจุบันคือความเครียด ฯลฯ

วิธีวัดความดันโลหิตอย่างง่ายๆ

เมื่อได้รับสัญญาณเตือนภัยแล้ว สิ่งที่ต้องทำคือหาสาเหตุของความดันโลหิตที่ผิดปกติให้พบแล้วแก้ไขเพื่อให้ค่าความดันโลหิตกลับเข้าสู่ภาวะปกติหรืออย่างน้อยก็ต้องไม่สูงไปกว่าเดิมคือต้องหาทางควบคุมรักษาระดับความดันโลหิตให้คงที่อยู่ในระดับที่ปลอดภัย เพราะความดันโลหิตสูงจะเป็นจุดเริ่มทำให้โรคร้ายต่างๆ ค่อยๆ คืบคลานเข้ามา คนที่ละเลยต่อการควบคุมความดันโลหิตมักจะมีโรคร้ายอื่นๆ ตามมาเสมอ การตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ควรทำโดยเฉพาะเมื่ออายุเลย 40 ปีขึ้นไปแล้วเพราะพฤติกรรมการใช้ชีวิตในปัจจุบันท่ามกลางความเร่งรีบทำให้คนเราทำร้ายร่างกายตัวเองโดยไม่ตั้งใจ ดังนั้นจงให้ความสำคัญกับความดันโลหิตที่ผิดปกติอย่าปล่อยให้สายเกินไป

การวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง ปกติความดันโลหิตจะอยู่ที่ระดับไม่เกิน 120/80 มิลลิเมตรปรอท ถ้าหากค่าความดันโลหิตสูงขึ้นมาก็จะแบ่งออกเป็นระดับต่างๆ ได้คือ ความดันสูงเล็กน้อยคือค่าความดันโลหิตตัวบนจะอยู่ระหว่าง 120 – 129 มิลลิเมตรปรอท ยังถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่พอรับได้ แต่ถ้าความดันโลหิตตัวบนสูงขึ้นไปอีกอยู่ในระดับ 130 -139 มิลลิเมตรปรอทจะจัดอยู่ในประเภทความดันโลหิตสูงระยะที่ 1 และหากค่าความดันตัวบนสูงขึ้นไปอีกโดยมีค่าตั้งแต่ 140 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปจะจัดว่าเป็นความดันโลหิตสูงในระยะที่ 2 เมื่ออายุมากขึ้นจะพบภาวะความดันโลหิตสูงแบบแยกตัว นั่นคือค่าความดันโลหิตตัวล่างอยุ่ในเกณฑ์ปกติ(ต่ำกว่า 80 มิลลิเมตรปรอท) แต่ค่าความดันโลหิตตัวบนจะสูงมากกว่า 130 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไปภาวะแบบนี้จะพบได้ในผู้สูงอายุ

อาการความดันสูงเฉียบพลัน เป็นภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นแบบกระทันหันอาจเกิดขึ้นได้ซึ่งจะทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายหลายอย่างและทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมได้เช่น หัวใจล้มเหลว โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง เป็นต้น.

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *