โรคหัวใจ (Heart Disease) อาการ สาเหตุและการป้องกันโรคหัวใจ

โรคหัวใจ (Heart Disease) เป็นภัยเงียบที่ค่อยๆแฝงตัวเข้ามาโดยที่ผู้ป่วยไม่รู้ตัว การที่ผู้ป่วยโรคหัวใจจะรู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจก็อาการโรคหัวใจต้องรอจนอาการโรคหัวใจกำเริบแล้วจึงตรวจพบว่าเป็นโรคหัวใจ คนส่วนมากไม่ค่อยให้ความสำคัญและมีความรู้ความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคหัวใจและมักใช้ชีวิตอย่างประมาท การเที่ยวเตร่เฮฮากินดื่มอย่างเกินพอดีเป็นสาเหตุของโรคร้ายหลายๆโรครวมทั้งโรคหัวใจด้วย

การดูแลสุขภาพที่ดีและใช้ชีวิตอย่างไม่ประมาทจะเป็นภูมิคุ้มกันโรคหัวใจได้อย่างดี โรคหัวใจไม่น่าจะเกิดขึ้นจนกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้หากเรามีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติตนใช้ชีวิตประจำวันแบบไม่ประมาทเพราะสถิติปัจจุบันนี้มีผู้ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจเป็นจำนวนมากสาเหตุส่วนมากเกิดจากการใช้ชีวิตและมีพฤติกรรมการกินอาหารแบบตามใจปากนั่นเอง

สาเหตุของโรคหัวใจ (Cause of Heart Disease) เกิดจากการที่หลอดเลือดเกิดการตีบหรือตันจนเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงอวัยวะส่วนต่างๆได้ตามปกติหรือบางทีอาจถึงขั้นหลอดเลือดอุดตัน โรคหัวใจสามารถเริ่มได้ตลอดเวลาทุกช่วงชีวิตหากเราเริ่มละเลยไม่ใส่ใจดูแลสุขภาพไม่ว่าจะเป็นการกินอาหาร การออกกำลังกาย การพักผ่อนนอนหลับและความเครียด หากเราละเลยปัจจัยเหล่านี้จะเป็นจุดเริ่มต้นของโรคหัวใจและโรคร้ายแรงอื่นๆตามมาอีกมากมาย

อาการของโรคหัวใจ (Heart Disease Symptoms) ช่วงเริ่มแรกอาจทำให้ผู้ป่วยเข้าใจผิดว่าอาการของโรคหัวใจที่เกิดขึ้นกับตนเองเป็นเพียงอาการของไข้หวัดคือปวดกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย เป็นลม ความเข้าใจผิดแบบนี้จะอันตรายเป็นอย่างมากโดยเฉพาะหากผู้ป่วยไม่ได้ใส่ใจที่จะตรวจสุขภาพประจำปีด้วยแล้วกว่าจะรู้ตัวว่าอาการดังกล่าวเป็นอาการของโรคหัวใจอาการก็อาจกำเริบจนอาจจะสายเกินไปทำให้การรักษาโรคหัวใจทำได้ยากขึ้นโดยไม่จำเป็น

การตรวจวัดขั้นพื้นฐานเพื่อหาความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจคือ ระดับโคเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด หากต้องการการวัดที่แม่นยำกว่านั้นก็ต้องวัดระดับโฮโมซิสเตอีน (Homocysteine) ในเลือด ซึ่งสามารถบอกความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้อย่างแม่นยำกว่า บางคนอาจเป็นโรคหัวใจได้แม้จะมีระดับโคเลสเตอรอลที่ต่ำก็ตาม ก่อนตรวจเลือดเพื่อวัดความเสี่ยงการเป็นโรคหัวใจต้องงดอาหารก่อนตรวจอย่างน้อย 8-12 ชั่วโมง เพื่อตรวจระดับไขมันทุกตัวไม่ว่าจะเป็น โคเลสเตอรอลรวม ไตรกลีเซอไรด์ โคเลสเตอรอลที่ดี (HDL) โคเลสเตอรอลที่ไม่ดี (LDL) และอัตราส่วนระหว่างโคเลสเตอรอลรวมต่อโคเลสเตอรอลที่ดี การตรวจวัดระดับโคเลสเตอรอลเป็นประจำทุกปีจะเป็นตัวบอกที่ดีว่าความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจมีมากน้อยแค่ไหน

โรคหัวใจเป็นเหมือนเพชฌฆาตเงียบ (Silent Killer) ที่จู่โจมโดยไม่รู้ตัว ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกขึ้นมาทันทีขณะกำลังสังสรรค์กินเลี้ยงกันอยู่ทำให้เสียชีวิตในทันที โรคหัวใจจะค่อยๆก่อตัวขึ้นอย่างช้าๆ หากผู้ป่วยไม่ดูแลสุขภาพให้ดี ไขมันหรือระดับโคเลสเตอรอล (Cholesterol)ในร่างกายจะค่อยๆถูกสะสมเพิ่มขึ้นจนในที่สุดก็จะแสดงอาการออกมา การป้องกันโรคหัวใจทำได้โดยหมั่นดูแลสุขภาพด้วยการควบคุมพฤติกรรมการกินอาหาร พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด ออกกำลังกายอย่างต่อเนื่องอย่างน้อยวันละ 30 นาที ที่สำคัญคือต้องตรวจร่างกาย (ระดับไขมันในเลือด) เป็นประจำทุกปีเพื่อการป้องกันโรคหัวใจหากเริ่มมีอาการโรคหัวใจจะได้หาพิจารณาหาสาเหตุของโรคหัวใจเพื่อหาทางป้องกันและควบคุมอาการไม่ให้กำเริบจนอาจทำให้เสียชีวิตได้

ชนิดของโรคหัวใจมีอะไรบ้าง โรคหัวใจสามารถแบ่งออกได้หลายชนิดตามส่วนของหัวใจที่ได้รับผลกระทบและลักษณะของการเกิดโรคแต่ที่พบได้บ่อย ๆ มีตัวอย่างดังนี้ โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (Myocardial Infarction – MI) หรือ “หัวใจวาย” เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจตายเนื่องจากการอุดตันของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจอย่างฉับพลัน โรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Artery Disease – CAD) เกิดจากหลอดเลือดที่ตีบแคบลงเพราะการสะสมของไขมันในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่เพียงพอ โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmia) เกิดจากการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจไม่ดีทำให้การเต้นของหัวใจไม่สม่ำเสมอซึ่งอาจจะช้าหรือเร็วเกินไป โรคกล้ามเนื้อหัวใจโต (Cardiomyopathy) เกิดจากการที่หัวใจต้องทำงานหนักทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาและมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้หัวใจบีบตัวผิดปกติ โรคลิ้นหัวใจ (Valvular Heart Disease) เป็นความผิดปกติโดยเกิดการตีบหรือรั่วที่ลิ้นหัวใจทำให้การไหลเวียนของเลือดในหัวใจผิดปกติ โรคหัวใจพิการแต่กำเนิด (Congenital Heart Disease) เกิดจากระหว่างตั้งครรภ์มีการพัฒนาของหัวใจและหลอดเลือดที่ผิดปกติ นอกจากนี้ยังมีโรคเยื่อหุ้มหัวใจ (Pericarditis) ที่เกิดจากการติดเชื้อหรือสาเหตุอื่นใดที่ทำให้มีอาการเจ็บหน้าอก โรคหัวใจอักเสบ (Myocarditis) สาเหตุจากการติดเชื้อไวรัสทำให้กล้ามเนื้อหัวใจเกิดการอักเสบและสุดท้ายคือโรคหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) เกิดจากการที่หัวใจที่ไม่สามารถทำหน้าที่ของตัวเองได้อีกต่อไป

โรคหัวใจแบบไหนอันตรายที่สุด ขึ้นอยู่กับการพิจารณาจากหลายๆ ปัจจัย ทั้งนี้รวมถึงการตอบสนองต่อการรักษาของผู้ป่วยและการดูแลสุขภาพตนเอง ชนิดของโรคหัวใจที่อันตรายและมีความเสี่ยงสูงที่อาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตได้ได้แก่ โรคหัวใจล้มเหลว (Heart Failure) คือการที่หัวใจไม่สามารถทำหน้าที่ของตัวเอง(ส่งเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย) ได้ตามปกติ โรคนี้จะมีการก่อตัวขึ้นมาอย่างช้าๆ และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของผู้ป่วยสูง โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน (Acute Myocardial Infarction – AMI) หรือ “หัวใจวายเฉียบพลัน” จะมีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงเพราะหลอดเลือดหัวใจเกิดการอุดตันแบบฉับพลันทำให้เกิดการขาดเลือดและออกซิเจนที่จะไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ นอกจากนี้โรคหัวใจที่อันตรายยังมีอีกหลายชนิดเช่นโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิดร้ายแรง (Severe Arrhythmias) โรคลิ้นหัวใจรั่วรุนแรง (Severe Valvular Heart Disease) เป็นต้น

จะรู้ได้ไงว่าเป็นโรคหัวใจ เพื่อให้การวินิจฉับที่แม่นยำและถูกต้องควรปรึกษาแพทย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะทาง(โรคหัวใจ) การสังเกตุอาการเบื้องต้นที่อาจบ่งชี้ว่าอาจเป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจได้ เช่น เจ็บหน้าอก (Chest Pain) เจ็บแบบรู้สึกแน่นบริเวณกลางหน้าอกหรือทางด้านซ้ายของหน้าอก หายใจลำบาก (Shortness of Breath) ควบคู่ไปกับอาการเหนื่อยหอบง่ายเมื่อต้องออกแรง อาการบวมบริเวณขา เท้า ท้อง อาการหัวใจเต้นผิดปกติไม่เป็นจังหวะ อาการอ่อนเพลียและล้าแบบไม่มีสาเหตุเมื่อทำกิจกรรมเบาๆ อาการเวียนศีรษะ-เป็นลม เป็นต้น

อาการเริ่มแรกของโรคหัวใจเป็นยังไง ลักษณะอาการที่อาจบ่งชี้ว่าร่างกายอาจมีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ หากมีอาการเหล่านี้ อาการเจ็บหรืออึดอัดในหน้าอก (Chest Pain or Discomfort) โดยจะรู้สึกเหมือนกับหน้าอกถูกกดทับ อึดอัด หายใจลำบาก (Shortness of Breath) เมื่อต้องออกแรงจะรู้สึกเหนื่อย-หอบ หายใจไม่สะดวกหรือแม้แต่อยู่เฉยๆ ก็อาจมีอาการนี้ได้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Irregular Heartbeat) จะรู้สึกว่าหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมออาจมีอาการใจสั่นร่วมด้วย เหงื่อออกมาก (Excessive Sweating) โดยไม่มีสาเหตุ และอาการเวียนศีรษะหรือเป็นลม (Dizziness or Fainting) อาการบวมที่ขาหรือข้อเท้า (Swelling in Legs or Ankles) อาจเกิดจากการสะสมของของเหลวในร่างกายเนื่องจากหัวใจไม่สามารถสูบฉีดเลือดได้ดี หากมีอาการเหล่านี้ควรจดบันทึกลักษณะอาการที่เกิดขึ้นและปรึกษาแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยอย่างละเอียด การตระหนักถึงอาการเริ่มแรกและปฏิบัติตัวเพื่อสุขภาพหัวใจที่ดีสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและเพิ่มโอกาสในการรักษาโรคหัวใจได้อย่างมีประสิทธิภาพ